[RIDEสาระ] วันนี้ขอเสนอการปรับ SAG ตั้ง SAG ให้โช้คอัพคืออะไร Just Ride it อธิบายให้เข้าใจง่ายๆแบบภาษามนุษย์
ระบบช่วงล่างในรถมอเตอร์ไซค์ที่เราใช้งานกันอยู่ในทุกวันนี้ ณ ปัจจุบัน ถูกพัฒนามาไกลมากกกก
เป็นการทำงานร่วมกันอย่างละเอียดอ่อนของสปริง น้ำมัน และบางทีก็มีการอัดแก็สเข้าไปผสมด้วย
แต่สิ่งที่เป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่เราจะนำมาเป็นหัวข้อเม้ามอยกันในวันนี้ นั่นคือออออ SAG
อธิบายง่ายๆ เป็นภาษามนุษย์ก่อนเลยละกัน
อันว่าเจ้า SAG เนี่ย มันคือ “ระยะการยุบตัวที่เหมาะสมของโช้คอัพ โดยนำน้ำหนักที่รถต้องแบกมาคำนวณด้วย”
อ่ะ ไหนบอกภาษามนุษย์ไง เอางี้ๆ ให้ท่านผู้อ่านที่รักนึกภาพตาม
นึกถึงรถเดิมๆหนึ่งคันจากโรงงานเลยเอ้า
ตอนรถจอดอยู่เฉยๆ โช็คอัพมันจะยาวปกติใช่มั้ย สมมติตัวเลขกลมๆไป 100 (ไม่ต้องใส่หน่วยนะ ใส่ตัวเลขเพียวๆไปเลย)
ทีนี้ คุณเดินเข้าไป คร่อมรถปุ๊บบบบ โช้ตอัพจะยุบตัวลงไป ตีกลมๆอีกที เหลือความยาว 90
จากนั้น คุณเรียกใครสักคนมาซ้อนท้าย อาจจะพริตตี้ หรือใครสักคนที่พร้อมจะไปด้วยกันนนน (เดี๋ยวววว)
โช็คอัพก็จะยุบลงไปอีก อาจจะเหลือความยาวแค่ 80 แล้วตอนนี้
นี่แหละ คือการยุบตัวของโช้คอัพ หายงงมั้ย
ทีนี้ นึกภาพต่อ ค่า SAG ที่เหมาะสมของรถแต่ละประเภทหรือของโช้คอัพแต่ละชนิด มันก็ต้องแยกย่อย มีข้อแตกต่างกันออกไป
ถ้าโช็คยุบเยอะมากตั้งแต่คร่อมรถ รับรองว่าตอนขี่ไปมันจะต้องโคลงเคลงเหมือนนั่งเรือแน่ๆ
แต่ถ้าขึ้นคร่อมรถแล้ว มันไม่ยุบลงเลย ตอนขี่ออกไปเจอถนนจริงๆ คงเหมือนนั่งเกวียน กว่าจะถึงที่หมาย กระเพาะ ลำไส้ คงไหลมากองรวมกัน
ทั้งหมด ทั้งมวล จะตั้ง SAG ต้องคำนวณโดยใช้น้ำหนักตัว + สัมภาระ ที่จะแบกขึ้นไปตั้งบนรถ
แล้วปรับค่า Preload (ค่าความแข็งของสปริง) นั่นเองงงงงง
ค่า SAG จะอ้างอิงตามมาตรฐานต่างกัน ทางYSS ก็มีค่าเฉพาะ “แบ่งตามประเภทของรถอย่างชัดเจน”
ผลจากการเซ็ตค่า SAG ที่ถูกต้อง จะทำให้รถ นุ่มนวล ยึดเกาะพื้นผิวถนนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ตัวอย่าง การคำนวณค่า SAG จาก YSS ที่มีไว้ให้กับรถชนิดต่างๆ
เอาล่ะ เมื่อรู้คอนเซปคร่าวๆ ของคำว่า SAG คืออะไรกันแล้ว แล้วมันต้องทำยังไงบ้าง มาดูกันเล้ยยย
มามะ มาเตรียมปวดหัวกันได้แล้วววว
ค่า SAG จะมีทั้งหมด 3 ค่า ดังนี้…
SET ZERO คือค่าตัวเลขที่วัดความยาวรวมขณะโช้คยืดตัวสุด หรือ ระยะสโตรคก่อนยุบตัว หน่วยเป็น “มิลลิเมตร”
ในโช้คหน้าแทนด้วย F1 ในโช้คหลังแทนด้วย R1 (วัดตอนรถลอยตัวแบบไร้น้ำหนักกดใดๆทั้งสิ้น)
FREE SAG คือค่าตัวเลขที่วัดการยุบตัวของน้ำหนักรถที่กระทำต่อโช้คโดยที่ยังไม่มีผู้ขับขี่
ในโช้คหน้าแทนด้วย F2 ในโช้คหลังแทนด้วย R2
RIDER SAG คือค่าตัวเลขที่วัดการยุบตัวที่มีผู้ขับขี่นั่งอยู่บนรถรวมสัมภาระหรือผู้ซ้อนเเล้ว
ในโช้คหน้าแทนด้วย F3 ในโช้คหลังแทนด้วย R3
ซึ่งในระดับเซ็ทคร่าวๆ จะขอใช้เพียงสองค่าเท่านั้นคือ SET ZERO และ RIDER SAG ก็ปวดหัวพอแล้ว
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดSAG
1. เทปกาว
2. ดินสอ หรือปากกา ธรรมดา
3. ตลับเมตร
4. ผู้ช่วยยกรถ
5. ตัวคนขับ พร้อมสัมภาระ ถ้ามีคนซ้อนด้วย ก็จับแต่งตัวเต็มยศมารอใกล้ๆเลย ถ้าเป็นรถแอดแวนเจอร์สายลุย
ติดปี๊บติดกล่องหลัง โหลดของ เอาแบบว่า ซ้อมออกทริปไปเลย
วิธีการวัด
1. ลมยางควรเติมตามค่ามาตราฐาน หรือค่าที่ใช้งานจริงต้องเช็คก่อนทุกครั้ง
2. ควรรู้ค่า Preload Start ของโช้คตัวเอง
(กรณีของโช้คหลังเท่านั้น โช้คหน้าที่เป็นชุดอัพเกรด หรือโช้คหน้า OEM ที่ปรับได้บางรุ่น ต้องถอดออกมาวัดใต้ FORK ADJUSTER ขอข้ามไปก่อน) โดยดูที่รหัสสปริง 3 หลักสุดท้าย ลบด้วยค่าความยาวสปริงเมื่อล้อหลังลอย สมมุติ สปริงมีรหัส XX-XX-XX-220 นั่นคือความยาวสปริง 220 มม. พอล้อลอยเเล้ววัดความยาวสปริงได้ 210 มม. นั่นหมายความว่าโช้คตัวนี้มี Preload อยู่ที่ 10 มม.
3. กำหนดจุดมาร์คให้ถูกต้อง โดยการใช้เทปกาวแปะในตำเเหน่งที่ถูกต้องทั้ง
จุดเริ่มต้นวัดระยะ และ จุดสิ้นสุดการวัดระยะ
หลักการคือกำหนดจุดตายตัวที่ไม่ขยับส่วนหนึ่งของรถ ลากผ่านจุดที่โช้คมีการยุบตัวเช่นเฟรมรถกับหูน๊อตโช้ค
หรือในโช้คหน้าจะเป็น ฐานแผงคอล่างกับซีลโชคก็ได้(ดูภาพประกอบ) หน่วยการวัดเป็น มิลลิเมตร
4. ตั้งรถตามค่าที่ต้องการวัด ต้องมีผู้ช่วยจับรถ เน้นระวัง ห้ามผู้ช่วยถ่ายเทน้ำหนักลงสู่รถเด็ดขาด
5. เพื่อความแม่นยำสูงสุด ควรคลายวาว์ลทั้งหมดให้อยู่ที่ค่ากลางคือ 15
(หมุนตามเข็มนาฬิกาจนสุดเเละหมุนทวนเข็มนับ 15 คลิ๊ก)
ไม่ว่าจะเป็น Rebound value และวาล์ว HIGHT-LOW Compression value
6. ก่อนเริ่มวัดค่าให้ทำการ กดโช้คย้ำๆหลายๆครั้ง เพื่อให้โช้คอัพคลายตัวเต็มที่
7. ขั้นตอนการวัด RIDER SAG เพื่อความเเม่นยำ ต้องบรรทุกน้ำหนักให้ใกล้เคียง หรือเท่ากับตอนใช้งานรถจริงมากที่สุด
(ในรถเเข่งจะวัดโดยที่ นักเเข่งใส่ชุด ใส่หมวกครบถ้วน)
8. เมื่อวัดตามค่าต่างๆ ครบเเล้วก็ คำนวนด้วยสูตรดังต่อไปนี้
โช้คหน้า (Front fork)
SET ZERO = F1
FREE SAG = F1-F2
RIDER SAG = F1-F3
โช้คหลัง (Rear Shock)
SET ZERO = R1
FREE SAG = R1-R2
RIDER SAG = R1-R3
9. เมื่อได้ค่าเเล้วก็นำมาเทียบตามตารางสูตรของ YSS ***ตามประเภทของรถให้ถูกต้อง***
ค่า REMARK คือ ขอบเขตของค่า SAG ที่ยังไม่เกินค่ามาตราฐานเช่น REMARK 30-50 ถ้าเราวัดได้ 40 คือกลางๆ
แต่ถ้าวัดได้ 30 คือค่อนไปทางแข็ง หรือถ้าวัดได้ 50 คือค่อนไปทางนิ่ม ถ้าเกินไป 60 คือนิ่มมาก ถ้าวัดได้ 20 คือแข็ง เป็นต้น
10. จากนั้นก็ปรับ Preload ให้ได้ตามค่าที่ต้องการ เช็คลมยางให้ดีเเล้วลองขับขี่ดู ขั้นตอนต่อไปจึงเริ่มปรับวาล์ว
รถบางประเภทต้องการ SAG ที่มากเป็นพิเศษ หรือน้อยเป็นพิเศษ
***ข้อควรระวังเเละต้องสังเกตุ ถ้าปรับ SAG ให้อยู่ในค่า REMARK เเล้วต้องกด Preload มากๆ (เกินกว่า 20 มม. ขึ้นไป)
เพื่อให้อยู่ในค่าที่ต้องการ หรือต้องคลาย Preload จนเเทบไม่เหลือเลยก็ต้อง #เปลี่ยนสปริง ให้เหมาะกับการใช้งานของเรา
11. สุดท้ายแล้ววว ถ้าใครที่ดูเเล้วยุ่งยากเกินไป ที่ YSS ไม่ว่าคุณจะซื้อจากดีลเลอร์ หรือร้านตัวแทนไหนก็ตาม
สามารถเข้ามารับบริการเพื่อ Setup SAG กระบวนการทั้งหมดข้างต้นนี้ได้ ฟรี!!!!
พร้อมให้ปรึกษาด้านเทคนิค เซ็ตวาล์วตั้งค่าต่างๆ เซอร์วิสโช้คตามระยะ อัพเกรด และอื่นๆอีกมากมายยยย
เมื่อ Setup ค่าต่างๆลงตัวแล้วก็พร้อมลุยทุกเส้นทางกันเลยยย
สนใจสินค้าโทร Hotline 02-7063700
Dealer : www.yss.co.th/dealer.php
#yss #yssthailand
#yss_suspension
#WORLDCLASS_SUSPENSION
#RIDEสาระ
#JustRideit #JustRideitTeam